ศิลปวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษย์สามารถสร้างสรรค์และกลายเป็นสิ่งใดได้บ้าง บางทีสิ่งเหล่านี้อาจเรียกว่าเป็นศิลปะ เพราะสิ่งที่กำลังจะกล่าวต่อไปนี้ มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว โดยที่เราไม่รู้ตัว มนุษย์สร้างสรรค์ผลงานศิลปวัฒนธรรมอะไรขึ้นมาบ้าง เราไปดูกันเลย
- ขนบประเพณี ความเชื่อทางศาสนา และความเชื่ออื่นๆ
คนไทยจะนับถือและยึดมั่นในศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ เชื่อมั่นว่าปฏิบัติตามแล้วดี ดังที่ว่า ทำดีได้ดี ทำไม่ดีก็มักจะได้สิ่งที่ไม่ดีตอบแทน มนุษย์ผูกพันกับขนบประเพณีที่แตกต่างกัน ถือมั่นปฏิบัติตนตามที่เชื่อ และบางครั้งก็มีการทำพิธีกรรม ซึ่งแน่นอนว่ามักจะไม่เหมือนกัน นอกเหนือจากนั้นยังมีความเชื่อถือเกี่ยวกับโชค และโหราศาสตร์
- สร้างสรรค์ภาษา และวรรณกรรม
มนุษย์มีภาษาพูดที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นคนไทยเอง ก็ยังมีคนถึง 4 ภาค มีภาษาไทยเหนือ ภาษาไทยใต้ ภาษาไทยอีสาน และภาษาไทยกลาง ผู้ที่มีเชื้อชาติต่างกัน หรือแม้แต่ในชาติเดียวกกัน ก็จะมีอักษรหรือภาษาเขียนที่นิยมใช้เป็นของท้องถิ่นเอง หรือเป็นของประเทศตนเอง
ในส่วนของทางด้านวรรณกรรม ยกตัวอย่างเช่นในภาคอีสาน ก็จะวรรณกรรมทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่ วรรณกรรมมุขปาฐะใช้วาจาสืบทอดหรือเล่าต่อกันมา และวรรณกรรมแบบลายลักษณ์อักษร
- การสร้างสรรค์ศิลปกรรม และโบราณคดีวิทยา
ศิลปกรรม และโบราณคดีวิทยาเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อความงดงามหรือเพื่อคุณประโยชน์ในการใช้สอย รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่ทำขึ้นจากความศรัทธาของคนบางกลุ่ม
– ศิลปกรรม เป็นงานที่มนุษย์ทำขึ้นอย่างตั้งใจผ่านกรรมวิธีคิดและใส่ใจทุกรายละเอียดเพื่อให้เกิดความสวยงาม เพื่อเป็นสิ่งที่ช่วยจรรโลงจิตใจ รวมทั้งเพื่อการใช้ประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ศิลปหัตถกรรม
– โบราณคดีวิทยา ที่เราจะเห็นกันได้แก่ โบราณสถาน วัตถุโบราณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทางกรมศิลปากรได้จดทะเบียนเอาไว้เป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันการทุบทำลาย หรือการบูรณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะทำให้ความเก่าแก่ ล้ำค่า และหายากนี้ หายไป
- การละเล่น ดนตรี รวมทั้งนาฏสิลป์
การละเล่น เป็นกิจกรรมที่ผู้คนนั้นได้ออกมาแสดงความสร้างสรรค์ จินตนาการที่มีอยู่ในตัวเอง โดยสร้างออกมาเป็น เพลงพื้นเมือง การจัดทำเสียงที่ประกอบกันเป็นท่วงทำนอง โดยเกิดขึ้นมาจากการร้องเพลง และเครื่องดนตรี ส่งผลไปสู่การทำท่าทางที่สวยงาม มีการการเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกายให้เข้ากับจังหวะดนตรี ที่เราเรียกกันว่า การฟ้อนรำ ทำให้เกิดความเบิกบานทางจิตใจ เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต และในที่สุดก็กลายเป็นแบบแผนวิชาให้เราได้ศึกษาเล่าเรียน
คงเป็นดังคำที่ว่า “ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก” ศิลปวัฒนธรรมอยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน และมีมนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมาอยู่เสมอ
สนับสนุนโดย จีคลับคาสิโนออนไลน์