คลังเก็บหมวดหมู่: ประเพณี

ประเพณีเกี่ยวข้าว

Published / by admin

          ประเพณีเกี่ยวข้าว   เราอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องของประเพณีดำนากันมาบ้างแล้วซึ่งวิธีการดำนานั่นก็คือการที่ชาวบ้านนั้นจะนำต้นกล้าซึ่งกำลังอยู่ในอายุที่พอเหมาะไปทำการปักชำไว้ในนาหลังจากนั้นก็จะรอให้ต้นกล้านั้นเจริญเติบโตกลายเป็นต้นข้าวซึ่งการทำประเพณีดำนานั้นก็คือเป็นช่วงของการที่เอาต้นกล้ามาปลูกในนานั่นเอง

แต่ประเพณีการดำนานั้นมักจะเป็นการทำร่วมกันระหว่างคนในชุมชนซึ่งมาพึ่งพาอาศัยกันช่วยเหลือกันในการดำนาและหลังจากที่มีการดำนาเสร็จเรียบร้อยแล้วชาวบ้านแต่ละหลังก็จะดูแลที่นาของตนเองดูแลต้นข้าวให้มีความเจริญงอกงามและเมื่อต้นข้าวเจริญงอกงามมีเมล็ดข้าวออกรวงสีทอง

ซึ่งก็เห็นว่าเป็นช่วงที่สามารถเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรได้แล้วชาวบ้านก็จะมีประเพณีอีกอันหนึ่งนั่นก็คือประเพณีการเกี่ยวข้าวนั่นเองซึ่งประเพณีนี้ก็ไม่ได้แตกต่างจากการทำประเพณีดำนาเพราะก็ถือว่าเป็นการเกณฑ์ชาวบ้านมาช่วยกันในการเกี่ยวข้าวโดยชาวบ้านจะมีเคียวมาคนละเล่มและลงมือเกี่ยวข้าวร่วมกันหลังจากนั้นก็เก็บผลิตผลทางการเกษตรนำไปตากให้แห้ง

แล้วนำข้าวเปลือกไปเก็บไว้ในยุ้งฉางซึ่งประเพณีการเกี่ยวข้าวนั้นในสมัยโบราณมักจะมีการจัดกิจกรรมกันเพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและไม่น่าเบื่อดังนั้นไม่ว่าชายหรือหญิงที่พากันไปช่วยกันเกี่ยวข้าวก็มักจะพากันร้องเพลงเกี้ยวพาราสีกันขณะที่เกี่ยวข้าวไปด้วยทำให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้วไม่รู้สึกถึงความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้น

แต่อย่างใดซึ่งคนในสมัยโบราณนั้นคนหนุ่มสาวมักจะพากันช่วยกันเกี่ยวข้าว ส่วนคนเฒ่าคนแก่นั้นก็จะมีหน้าที่ของหาอาหารมาคอยเลี้ยงแขกที่มาช่วยเกี่ยวข้าวนั่นเองทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันในหมู่ของเพื่อนบ้านสำหรับประเพณีเกี่ยวข้าวถือประเพณีอย่างหนึ่งของคนไทยที่มีการทำมานานตั้งแต่ในอดีต

ซึ่งการที่คนในหมู่บ้านร่วมใจกันมาช่วยกันเกี่ยวข้าวก็จะทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันของคนในชุมชนเกิดความปรองดองกันสำหรับประเพณีการเกี่ยวข้าวนั้นมักจะมีการเรียกอีกแบบก็คือการลงแรงและการลงแขกสำหรับการลงแรงนั้นก็คือการที่เราเอาแรงมาช่วยในเรื่องของการเกี่ยวข้าวและเมื่อเรามาช่วยบ้านหลังดังกล่าวแล้ว

ในอนาคตเมื่อบ้านเราต้องการที่จะเกี่ยวข้าวบ้านที่เราเคยไปช่วยเหลือในการเกี่ยวข้าวก็จะกลับมาช่วยเหลือเราเช่นเดียวกันนั่นก็คือการลงแรงซึ่งเป็นการช่วยเหลือกันส่วนเป็นการลงแขกนั้นก็จะเป็นการเกี่ยวข้าวเช่นเดียวกันเพียงแต่ว่าในการเกี่ยวข้าวนั้นจะทำในวันเดียวแล้วเสร็จเลยซึ่งการลงแขกนั้นจะเป็นการช่วยเหลือกันทั้งหมู่บ้านแต่ถ้าหากเป็นการลงแรงนั้นก็อาจจะเป็นแค่เพื่อนบ้านการช่วยเหลือกันไม่กี่หลังคาเรือนเท่านั้น

 

ขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนโดย.   สมัคร sbobet โดยตรง

ขึ้นเขาเผาข้าวหลาม

Published / by admin

ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลาม

       มีคนอพยพมาจากเวียนจันทน์ มาอาศัยอยู่ทีอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ในช่วงเกี่ยวขาวบ้านจะนำข้าวมาทำเป็นข้าวหลามมาเผาในกระบอกไม้ไผ่สีสุกไปถวายพระ อย่างพร้อมใจกัน โดยจะทำการเผาข้าวหลามก่อนวันทำบุญหนึ่งวัน คือวันขึ้น 14ค่ำ เดือน 3 และจะนำไปถวายพระในวันขึ้น 15ค่ำ เดือน3 ของทุกปี ซึ่งวัดดงยางจะตั้งอยู่บนยอดเขา ใช้ระยะทางในการเดินเท้าประมาณ 5-6 กิโลเมตร ต้องเดินผ่านป่า เพื่อที่จะไปปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลองได้ การเดินขึ้นเขาไปทำบุญนี้จะต้องผ่านหมู่บ้านหัวสำโรงเป็นประจำ ชาวบ้านระแวกนั้นจึงได้รับประเพณีไปด้วย และทางโรงเรียนหัวสำโรงได้จัดให้มีงานเผาข้าวหลามนี้อย่างยิ่งใหญ่ไปด้วย 

ประวัติวัดดงยาง

       สมัยก่อนนั้นวัดดงยางเป็นเพียงสำนักสงฆ์ ในสำนักสงฆ์ได้มีพระพุทธรูปกับรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่ในวิหารหลังที่มีที่เดียวในสำนักสงฆ์นั้น ต่อมาได้เกิดไฟไหม้ ชาวบ้านจึงได้ย้าย รอยพระพุทธบาท กับ พระพุทธรูปที่หลงเหลือจากการเหตุการณ์นั้นมาได้ และได้ย้ายมาไว้ข้างล่าง จนกระทั่งได้ทำมีการจัดสร้างวัดขึ้นมาใหม่ บนเขาและได้แยกการทำวิหารออกไปหลายชนิด เช่นสร้างเป็นวิหารพระพุทธชินราช พระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ และได้ทำการสร้างวิหารครอบรอยพรพุทธบาทจำลองไว้ด้วย

กิจกรรมในงานขึ้นเขาเผาข้าวหลาม

       ทางหน่วยงานของรัฐได้ให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้มาก โดยจะจัดให้มีขบวนแห่ด้วยม้า และชาวบ้านก็จะมาร่วมในขบวนแห่นี้มากมาย และให้มีการเผาข้าวหลามโชว์ในงาน เมื่อเผาเสร็จก็จะนำข้าวหลามนี้ไปถวายพระ และมีการประกวดการเผาข้าวหลามขึ้น ในช่วงบ่ายก็จะนำขบวนแห่ขึ้นไปยังวัดดงยาง การเดินทางประมาณหนึ่งชั่วโมงกว่าจะถึงวัด และสองข้างทางจะมีป่ารายล้อม ส่วนทางขึ้นวัดนั้นจะมีบันไดทั้งหมด 718 ขั้น

และระหว่างทางจะมีจุดคอยบริการน้ำดื่มไว้ให้ด้วย และจะมีร้านค้าขายอาหารไว้คอยบริการ และเมื่อขึ้นไปถึงบนเขาจะหายเหนื่อยทันทีด้วยการชมทิวทัศที่สวยงามเมื่อมองมาข้างล่าง และทางวัดยังจัดให้มีการฉายหนัง มีลิเก รำวงในงานนี้อีกด้วย

ในปัจจุบันการคมนาคมสะดวกขึ้น การไปทำบุญที่วัดดงยางจึงสะดวกขึ้นชาวบ้านบางคนใช้จักยาน มอเตอร์ไซ หรือรถยนต์ ในการไปวัด การเผาข้าวหลามจึงไม่ค่อยทำการเผากันแล้ว แต่ยังมีการไปทำบุญที่วัดแห่งนี้ในวันสำคัญทางศาสนา และทางวัดจึงงดเรื่องงานรื่นเริงออกไป และการทำบุญก็ยังใช้ข้าวหลามมาทำบุญเหมือนเดิม

อารยธรรมเก่าแก่ของเมืองโคราช

Published / by admin

คุณเคยสงสัยหรืป่าวว่าที่อำเภอสูงเนินนั้นมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไรที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และมีอยู่อายุมาหลายช่วงอายุคนนอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์โบราณคดีก็ยังให้ข้อสงสัยกันอีกว่าน่าจะมีวัถุโบราณชิ้นส่วนอื่นๆหลงเหลืออยู่บ้างจากนั้นก้ได้พบปราสาทเก่าแก่ที่มีอายุมาหลายพันปี

นอกจากโบราณสถาน3แห่งในเขตอำเภอสูงเนิน

ซึ่งล้วนเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับอิทธิพลศิลปะมาจากขอมโบราณทั้งสิ้นนั่นก็คือปราสาทเมืองแขกปราสาทโนนกู่และปราสาทเมืองเก่าปราสาทเมืองแขกเป็นปราสาทศิลปะขอมที่ได้สร้างจากหินทรายผสมผสานด้วยอิฐซึ่งถือว่ามีขนาดที่ใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมาและยังมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมดูแตกต่าง

จากปราสาทของหลังอื่นๆที่ได้พบอยู่ในพื้นที่ไกล้เคียงแผ่นผังของการสร้างปราสาทนั้นด้านในสุดเป็นปราสาทสามหลังตั้งอยู่บนฐานด้วยกันหันหน้าไปทางทิศเหนือปราสาทประทานองค์กลางมีมุกต่อออกมาจากทางด้านหน้าแบบที่เรียกว่ามนดกแต่ปรางค์ด้านซ้ายขาวได้แตกหักเสียงหายเหลือแต่แค่เพียงฐาน เช่นด้วยกับอาคารสองหลังทางด้านข้างของปรางค์ประทาน

ซึ่งมันคงจะเป็นวิหารอาคารทั้งหมดได้ตั้งอยู่ภายในวงล้อมของกำแพงแก้วที่ก่อด้วยอิฐจากนั้นก้ได้มีการขุดคูน้ำค้นดินกั้นเอาไว้อีกชั้นหนึ่งจากนั้นถัดออกมาจากคูน้ำยังมีการสร้างกำแพงเป็นแนวที่สองโดยมีแนวทางเดินเชื่อมผ่านโคปูระหรือซุ้มประตากปรางค์ประทานสู่ภายข้างนอกและในส่วนภสยด้านนอกกำแพงจะมีด้านนอกอีกสองหลัง

ที่มีขนาดค่อนข้างที่จะใหญ่และได้สร้างหันหน้าเข้าหากันซึ่งในปัจจุบันนั้นจะเหลือแค่เพียงฐานและส่วนตัวของอาคารหน้าจะสร้างด้วยไม้จึงได้ผุกพังไปหมดจนไม่เหลือเคาโครงให้เห็นจากการที่ได้ขุดแต่งบริเวณปราสาทของกรม ศิลปากรก็ได้พบหลักฐานเป็นโบราณวัถุหลายชิ้นเช่นทบหลังศิสาจารึก

รวมไปถึงศิวารึงฐานศิวารึงและลูกโคนนทิซึ่งได้สามารถบ่งชี้ให้เห็นว่าปราสาทในเมืองแขกแห่งนี้ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสตร์สถานในศาสนาพราหมณ์และทิไศวะนิกายหรือฮินดูเพื่อประกอบเป็นพิธีถวายพะรศิวะหรือพระอิศวรซึ่งได้เป็นเทพเจ้าที่ได้รับการยกย่องให้เป็นใหญ่เหนือเทพเจ้าทั้งปวง

  ห่างออกไปจากปราสาทเมืองแขกเพียงไม่กี่ร้อนเมตรคือที่ตั้งของ ปราสาทโนนกู่ ซึ่งได้เป็นปราสาทอีกหลังของเมืองโคราฆปูระปราสาทโนนกู่เป็นปราสาทขนาดเล็กสสร่างด้วยอิฐและหินทรายสันนิษฐานว่าได้สร้างขึ้นในเวลสไกล้เคียงกันกับปราสาทเมืองแขกคือในราวกลางศตวรรษที่15และยังเป็นศาสตร์สถานฮินดูเช่นเดียวกันแผ่นผังของการสร้างปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้ามีโคปูระและซุ้มประตูทั้งสองข้างคือทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

ประเพณีรับบัวเป็นอย่างไรนะ

Published / by admin

ประเพณีรับบัวหรือประเพณีแห่งสายน้ำที่มีการจัดตั้งขึ้นมายาวนานของคนไทย

ซึ่งปัจจุบันประเพณีนี้อยู่ที่จังหวัด สมุทรปราการ จะมีการเริ่มจัดงานในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี โดยที่เรื่องราวการจัดงานนี้ขึ้นเกิดจากที่ในสมัยก่อนชาวชุมชนบางพลี จะมีประชาชนอาศัยอยู่สามารถแบ่ฃออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆคือ คนไทยดั้งเดิมในพื้นที่ คนมอญ และ คนลาว โดยทุกคนใช้ชีวิตร่วมกันอยู่ในชุมชนมาช้านาน อย่างมีความสุข

 ประเพณีรับบัวนั้นเริ่มแรกเดิมทีเกิดจากที่ชาวบ้านนั้นเป็นคนมีน้ำใจแก่เพื่อนร่วมชุมชน

เรื่องมีอยู่ว่าคนมอญที่ได้มาทำงานอยู่กับคนคนในท้องถิ่นบางแก้ว ซึ่งในช่วงเข้าพรรษาคนมอญที่ได้มาทำงานอยู่ด้วย จะขอเดินทางกลับบ้านไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง และได้มีการเก็บเอาดอกบัวมาถวายพระสงฆ์และส่วนหนึ่งก้ได้นำมาฝากเพื่อนบ้านด้วย

มาในปีต่อมาในช่วงเวลาเดียวกันชาวบ้านในอำเภอเมืองและชาวพระประแดง ได้พายเรือออกมาเพื่อเก็บดอกบัวในเขตของอำเภอบางพลี และก็ถือว่าเป้นโอกาสดีที่ชาวบ้านทั้งสองอำเภอจะได้นมัสการองค์หลวงพ่อโต อีกทั้งสองอำเภอนั้นอยู่ติดกันใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเพื่อเดินทาง 

และเพื่อกระชับความสัมพันของคนในพื้นที่และต่างอำเภอแต่ล่ะลำเรือได้มีการร้องรำทำเพลงเพื่อให้เกิดความครึกครื้นในระหว่างเดินทาง และสำหรับการแห่องค์หลวงพ่อโตทางเรือนั้น เกิดจากเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ นางจั่นชาวบ้านในอำเภอบางพลีและชาวบ้านคนอื่นๆ ได้ร่วมกันสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ ณ วัดบางพลีใหญ่ และได้ร่วมกันจัดงานแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์  ต่อมาได้เกิดการสืบทอดกันมาแต่เปลี่ยนวิธีเป็นแห่องค์หลวงพ่อโตองค์จำลองลัดเลาะไปทำลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนได้ออกมาสะการะ โดยดอกไม้ที่ใช้ในการสะการะนั้นก็คือดอกบัวเช่นเดิม 

โดยอย่างที่รู้ๆกันนั้นประเพณีโยนบัวนั้น มีแค่ใน อำเภอบางพลี  สมุทรปราการ เท่านั้น โดยที่ประเพณีนี้ใช้ดอกบัวเป็นเครื่องไหว้สะการะก็เพราะว่าในเขตบางพลีนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยดอกบัวหลวง

อยู่ไปทั่วตามแม่น้ำลำคลองหนองบึงภายในเขตพื้นที่บางพลี โดยที่ไกล้จะถึงเทศกาลดั่งกล่าวชาวบ้านก้จะนิยมพากันออกมาเก็บดอกบ้วภายในพื้นที่ตนเองอยู่หรือไกล้เคียงเพื่อนำไปถวายพระในวันดั่งกล่าว และในช่วงเวลาต่อมาชาวบ้านก็ได้มีการเก็บดอกบัวเพื่อคนที่ยังไม่มีและคนต่างพื้นที่จะมาขอแบ่งดอกบัวเพื่อไปถวายพระในวันงานและเพื่อความรวดเร็วในการส่งต่อดอกบัวจากเรือหนึ่งลำไปอีกหนึ่งรำ

จึงได้มีการโยนดอกบัวให้กันและกันจนกลายมาเป็นชื่อเรียกกันต่อมาว่าประเพณีโยนบัว