ประเพณีรับบัวเป็นอย่างไรนะ

ประเพณีรับบัวหรือประเพณีแห่งสายน้ำที่มีการจัดตั้งขึ้นมายาวนานของคนไทย

ซึ่งปัจจุบันประเพณีนี้อยู่ที่จังหวัด สมุทรปราการ จะมีการเริ่มจัดงานในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี โดยที่เรื่องราวการจัดงานนี้ขึ้นเกิดจากที่ในสมัยก่อนชาวชุมชนบางพลี จะมีประชาชนอาศัยอยู่สามารถแบ่ฃออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆคือ คนไทยดั้งเดิมในพื้นที่ คนมอญ และ คนลาว โดยทุกคนใช้ชีวิตร่วมกันอยู่ในชุมชนมาช้านาน อย่างมีความสุข

 ประเพณีรับบัวนั้นเริ่มแรกเดิมทีเกิดจากที่ชาวบ้านนั้นเป็นคนมีน้ำใจแก่เพื่อนร่วมชุมชน

เรื่องมีอยู่ว่าคนมอญที่ได้มาทำงานอยู่กับคนคนในท้องถิ่นบางแก้ว ซึ่งในช่วงเข้าพรรษาคนมอญที่ได้มาทำงานอยู่ด้วย จะขอเดินทางกลับบ้านไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง และได้มีการเก็บเอาดอกบัวมาถวายพระสงฆ์และส่วนหนึ่งก้ได้นำมาฝากเพื่อนบ้านด้วย

มาในปีต่อมาในช่วงเวลาเดียวกันชาวบ้านในอำเภอเมืองและชาวพระประแดง ได้พายเรือออกมาเพื่อเก็บดอกบัวในเขตของอำเภอบางพลี และก็ถือว่าเป้นโอกาสดีที่ชาวบ้านทั้งสองอำเภอจะได้นมัสการองค์หลวงพ่อโต อีกทั้งสองอำเภอนั้นอยู่ติดกันใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเพื่อเดินทาง 

และเพื่อกระชับความสัมพันของคนในพื้นที่และต่างอำเภอแต่ล่ะลำเรือได้มีการร้องรำทำเพลงเพื่อให้เกิดความครึกครื้นในระหว่างเดินทาง และสำหรับการแห่องค์หลวงพ่อโตทางเรือนั้น เกิดจากเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ นางจั่นชาวบ้านในอำเภอบางพลีและชาวบ้านคนอื่นๆ ได้ร่วมกันสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ ณ วัดบางพลีใหญ่ และได้ร่วมกันจัดงานแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์  ต่อมาได้เกิดการสืบทอดกันมาแต่เปลี่ยนวิธีเป็นแห่องค์หลวงพ่อโตองค์จำลองลัดเลาะไปทำลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนได้ออกมาสะการะ โดยดอกไม้ที่ใช้ในการสะการะนั้นก็คือดอกบัวเช่นเดิม 

โดยอย่างที่รู้ๆกันนั้นประเพณีโยนบัวนั้น มีแค่ใน อำเภอบางพลี  สมุทรปราการ เท่านั้น โดยที่ประเพณีนี้ใช้ดอกบัวเป็นเครื่องไหว้สะการะก็เพราะว่าในเขตบางพลีนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยดอกบัวหลวง

อยู่ไปทั่วตามแม่น้ำลำคลองหนองบึงภายในเขตพื้นที่บางพลี โดยที่ไกล้จะถึงเทศกาลดั่งกล่าวชาวบ้านก้จะนิยมพากันออกมาเก็บดอกบ้วภายในพื้นที่ตนเองอยู่หรือไกล้เคียงเพื่อนำไปถวายพระในวันดั่งกล่าว และในช่วงเวลาต่อมาชาวบ้านก็ได้มีการเก็บดอกบัวเพื่อคนที่ยังไม่มีและคนต่างพื้นที่จะมาขอแบ่งดอกบัวเพื่อไปถวายพระในวันงานและเพื่อความรวดเร็วในการส่งต่อดอกบัวจากเรือหนึ่งลำไปอีกหนึ่งรำ

จึงได้มีการโยนดอกบัวให้กันและกันจนกลายมาเป็นชื่อเรียกกันต่อมาว่าประเพณีโยนบัว