คลังเก็บป้ายกำกับ: นาค มาจากไหนกัน

นาค มาจากไหนกัน ?

Published / by admin

นาค มาจากไหนกัน เมื่อศาสนาพราหมณ์และพุทธได้เข้ามายังดินแดนอุษาขเณเอเชียตะวันออกฉียงใต้คำว่า นาค ได้ถูกนำเอามาใช้ทั้งในตระกลูภาษาไทยลาวและมอญเขมรในความหมายของ งู นั่นเป็นเพราะงูเป็นสัตว์เลือดเย็นไม่ขนปกคลัมร่างกายจึงสร้างจินตนาการเพิ่มเติมต่อมาให้หัวหน้างูทั้งหลายคือ นาค มีถิ่นที่อยู่ใต้ดินเรียกว่า บาดาล 

จากหลักฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์อายุระหว่าง2,300ถึง1,800ปีที่ได้ขุดค้นพบที่อำเภอบ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีภาชนะเขียนสีรูป งู แสดงถึงบทบาทในฐานะสัญลักษณ์ทางจิตวิญาณก่อนที่จะมีการรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแถบนี้

เมื่อความเชื่อดั่งเดิมจะมีสัตว์อีกหลากหลายชนิดที่เป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญาณมีอำนาจดรบันดาลความอุดมสมบูรณ์ได้แต่งูคือสิ่งที่ผสานเข้ากับขติทางธรรมพระพุทธศาสนาได้อย่างกลมกลืนมากที่สุดตามตำนาน นาค คือผู้ที่ศรัทธาและปกป้องพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ชนพื้นเมืองสร้างขึ้นใหม่ให้สอดรับกับความเชื่อทางพุทธศาสนานั่นเอง

ซึ่งบ้านเมืองหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักมีตำนานของนาคที่สร้างบ้านเมืองอยู่ก่อนแล้วแต่ภายหลังต้องยอมต่อสิโรราบต่อพระพุทธเจ้าและรับเอาพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำอาณาจักรของตนในดินแดนลุ่มน้ำโขงทั้งในไทยและลาว

ต่างมีความเชื่อกับเรื่องที่อยู่หรือรูพญานาคที่ผูกโยงเข้ากับศาสนสถานจำนวนมากเช่นพระธาตุดำในเวียงจันทร์ของลาวได้ถูกสร้างขึ้นครอบทับรูของนาคเชื่อว่าทำให้นาคไม่สามารถออกมาปปกป้องบ้านเมืองในยามอันตรายได้จนเป็นเหตุทำให้เวียงจันทร์ต้องพ่ายแพ้สงครามอยู่หลายครั้ง

โดยขนาดฝั่งไทยมีการสร้างพระธาตุปิดรูพญานาคเช่นพระธาตุพนมเชื่อว่านาคจะช่วยปกป้องคุ้มครองและเสริมสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่พระธาตุมากยิ่งขึ้นในความเชื่อของฮินดูที่ปรากฏอยู่ในอุษาเขณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นาค ยังได้ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์จึงปรากฏสะพานและบันไดนาคสร้างควบคู่ไปกับเทวสถานทุกๆแห่ง

ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับศาสนสถานในพุทธศาสนาการสร้างบันไดนาคขึ้นสู่วิหารหรือพระเจดีย์ถือเป็นคตินิยมในงานสถาปัตยกรรมที่พบได้อยู่เสมอบันไดนาคเสหมือนทางเชื่อมไปสู่ดินแดนพระอาทิตย์ที่อยู่ยอดบนสุดของจักรวาลขณะเดียวกันก็เป็นทางลงสำหรับผู้ที่มีบุญญาธิการทั้งหลายเฉกเช่นพระพุทธเจ้าที่เสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงสู่โลกมนุษย์ด้วยบันไดที่เทวดาและนาคได้ช่วยกันสร้างขึ้น

นอกจากนี้ นาค ยังได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับศาสนาในดินแดนนี้อย่างแนบแน่นและกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตท้องถิ่นเช่นประเพณีไหลเรือไฟทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ประเพณีนี้จะเริ่มจัดกันหลังในช่วงเทศกาลออกพรรษาทุกๆปีเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จไปแสดงธรรมเทศนาโปรดแก่นาคและนาคได้ขอพระพุทธองค์ให้ประทับรอยรอยพระบาทไว้ ณ ริมน้ำธรรมนานทีประเพณีนี้จึงเป็นการบูชาทั้งพระพุทธเจ้าและนาคไปพร้อมกัน

 

สนับสนุนโดย.   ทางเข้า UFABET ภาษาไทย